รู้ทัน โรคหลอดเลือดในสมองตีบตัน ป้องกันอัมพาตครึ่งซีก

 

Photo Of Radiotech Looking Through Patient's Diagnosis ...

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke) สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นภาวะที่สมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงอันเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆ จึงทำให้สมองขาดเลือดและขาดออกซิเจน ทำให้ผู้ป่วยบางรายเป็นอัมพาตตลอดชีวิตหรือร้ายแรงจนเสียชีวิตกะทันหันได้

โรคหลอดเลือดในสมองตีบเกิดจากอะไร?

โรคหลอดเลือดในสมองตีบ เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง จนเกิดความเสียหายและทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่

  • การตีบของเส้นเลือด จากการที่มีไขมันเกาะอยู่ตามผนังด้านในของหลอดเลือดสมอง ทำให้หลอดเลือดแคบลงและขาดความยืดหยุ่น
  • ลิ่มเลือดแข็งตัว มีลิ่มเลือดขนาดเล็กเกาะที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจปะปนไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันในหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยโรคหัวใจโต ผนังหัวใจรั่ว ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
  • การฉีกขาดของผนังหลอดเลือดด้านใน
  • เส้นเลือดแข็งตัวเร็วเกินไป จากการที่เลือดขาดสารบางอย่าง มีเม็ดเลือดแดงหรือเกร็ดเลือดมากเกินไป จนทำให้เลือดมีความผิดปกติและอุดตันในที่สุด

โรคหลอดเลือดในสมองตีบมีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยหลายคนมักไม่ทันสังเกตตนเองว่ามีความผิดปก เนื่องจากอาการเตือนของโรคหลอดเลือดในสมองตีบมีระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นหรือเกิดขึ้นอย่างฉับพลันแบบไม่ทันตั้งตัว โดยอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ เช่น

  • ปวดหัว สายตาพร่ามัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการพูดไม่ชัด พูดติดขัด
  • รู้สึกชาตามตัว แขนขาอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้หรือเดินเซ

อาการเหล่านี้เป็นอาการนำของโรคหลอดเลือดในสมองตีบ ซึ่งดูเหมือนเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงและยากที่จะบ่งบอกได้ว่าเป็นอาการนำของโรคหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้ป่วยหรือบุคคลใกล้ชิดจึงต้องสังเกตอาการและประวัติสุขภาพของผู้ป่วยร่วมด้วย หากผู้ป่วยมีปัจจัยเหล่านี้อาจเสี่ยงโรคหลอดเลือดในสมองตีบและต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน

  1. ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ 160/90 mmHg มาเป็นระยะเวลานาน
  2. ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันได้
  3. ป่วยเป็นโรคหัวใจ อาจเป็นสาเหตุให้มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันในเส้นเลือดสมอง
  4. มีไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดในสมองอุดตันเร็วกว่าปกติ
  5. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลงและทำลายผนังหลอดเลือดได้
  6. กรรมพันธุ์ หรือบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติเส้นเลือดในสมองตีบ
  7. ฮอร์โมนบางชนิด ส่วนมากพบในฮอร์โมนเพศหญิงที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้หลอดเลือดดำในสมองอักเสบได้
  8. ผู้สูงอายุ จากอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้ห้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลงตามไปด้วย

การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

สิ่งที่ทำให้การรักษาโรคหลอดเลือดในสมองตีบประสบความสำเร็จได้คือการยืดระยะเวลาของเซลล์สมองให้อยู่ได้นานมากที่สุด โดยทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาในปริมาณที่เพียงพอก็จะสามารถทำให้เซลล์สมองฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการเส้นเลือดในสมองตีบตามอาการแสดงที่กล่าวไปข้างต้นให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 ชั่วโมง โดยแพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือด (Thrombolysis) และทำการรักษาต่อที่โรงพยาบาลตามขั้นตอน

  1. รักษาด้วยยา เพื่อรักษาเซลล์สมองและเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน
  2. กายภาพบำบัดในผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต โดยฝึกเคี้ยวและกลืนอาหาร ฝึกนั่ง เดิน ยืน รวมถึงจิตบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย
  3. ฟื้นฟูร่างกายและติดตามอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

หากใครที่สังเกตตนเองได้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดโรคหลอดเลือดในสมองตีบได้ในอนาคต สามารถป้องกันตนเองได้โดยการทานยาตามที่แพทย์สั่งหากมีโรคประจำตัว ควบคุมน้ำหนักและรักษารูปร่างให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอและทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเช็กความผิดปกติของร่างกายและอย่าชะล่าใจหากร่างกายยังแข็งแรง ควรทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคหลอดเลือดในสมองตีบไว้อุ่นใจยามฉุกเฉิน สามารถเข้าไปเลือกแผนประกันสุขภาพได้ที่ Rabbit Care มีบริการโทรปรึกษาแพทย์แบบไม่ต้องไปโรงพยาบาล สามารถเปรียบเทียบแผนจ่ายออนไลน์โดยไม่ต้องติดต่อตัวแทนขายได้ที่ https://rabbitcare.com/health-insurance

 

 

Author: